วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

week 12 Customer Relationship Management

พึ่งเห็นว่าโพสไม่ขึ้นค่ะ ไม่ทราบทำไม T^T


การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management)
                การบริหารลูกค้าสัมพันธ์เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยการใช้เทคโนโลยี ความรู้และการใช้บุคลากรอย่างมีแนวทางหลักการ รวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า เพื่อทำการวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ  เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของซื้อและใช้บริการของลูกค้า
ประโยชน์ของ CRM
มีการจัดเก็บรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ เช่น Customer Profile, Behavior เพื่อวางแผนทางด้านการตลาดและการขายให้มีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้k ทำให้เกิดยอดขาย เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ  นอกจากนี้ยังลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
ซอฟต์แวร์ที่ใช้บริหารลูกค้าสัมพันธ์
1. ระบบการขายอัตโนมัติ (Sales Force Automation: SFA)
-   ระบบการขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ
-   ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ 
-   ระบบงานสนามด้านการขาย
2. ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call center)
-   ระบบการใช้บริการด้านโทรศัพท์ตอบรับ
3. ระบบการตลาดอัตโนมัติ 
ประเภทและระดับของ E-CRM
1. Foundation service เป็นบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้ลูกค้าใช้งาน เช่น website
-   Customer centered services เป็นบริการที่ลูกค้าต้องการโดยส่วนมากจะอยู่บน web เช่นการติดตามสินค้าที่ส่งแล้ว หรือติดตามเรื่องของสินค้าที่สั่งว่าทางองค์กรได้รับทราบหรือไม่
-   Value-added services บริการเสริมเพิ่มเติม
-  Loyalty programs เป็นการเพิ่มความภักดีต่อตราสินค้าให้กับลูกค้า เช่น การให้คูปองส่วนลดสำหรับสมาชิก
2. Tools for Customer Service
เครื่องมือที่จะใช้ในการบริการลูกค้า มีอยู่ทั่วไป เช่น  Social Media เช่น facebook, hi5, Personalized web pages, FAQs, Email & automated response,Live chat, Call centers

KM คือ ระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management System) เป็นการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนภายในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้เกิดการพัฒนาตนเองได้ ท้ายสุดประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานขององค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร
ประโยชน์ของการบริหารความรู้
-          1.  เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้ทันทีไม่ต้องเรียนรู้ใหม่
-          2.  ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร เป็นเหตุผลหลักขององค์กรที่จะนำข้อมูลมาจัดการ เพื่อไม่ให้ความรู้ออกไปหากพนักงานออก เพราะความรู้เป็นส่วนพื้นฐานสำคัญที่จะพัฒนาองค์กร
-          3.  ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ
-          4.  ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง
การสร้างความรู้
-     Socialization : focus on tacit to tacit knowledge เช่น การได้ความรู้จากภายนอก อย่างเช่น
ลูกค้า หรือ supplier
    Externalization : เปลี่ยนความรู้ฝังลึกเป็นความรู้ชัดแจ้ง
    Combination : รวบรวมความรู้จากข้อมูลหลายๆ แหล่งที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง มาเปลี่ยนแปลงเป็น
ความรู้ชัดแจ้ง (explicit + explicit => explicit)
    Internalization : การสร้าง explicit knowledge โดยใช้ tacit knowledge และแบ่งปันความรู้
ระหว่างองค์กร








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น